คำพูดที่ว่า “เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก”
นั้นมันไม่ผิดเลยจริงๆ มีเรื่องราวมากมายให้ต้องคิดให้ต้องทำ
ไม่ว่าจะเป็นการดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวแล้ว
บางคนยังมีเรื่องการงานที่ต้องทำอีกด้วย ยิ่งถ้าเป็นหญิงเก่งด้วยแล้ว
ต้องเหนื่อยเป็นพิเศษกว่าเดิม
แต่ไม่ว่าจะเก่งกาจอย่างไรถ้าไม่ดูแลตัวเองให้ดีๆ ก็อาจลำบากมากกว่าเดิมได้
เพราะฉะนั้นควรดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี
Dr.Carebear
หมอหมีใจดีตัวแทนสมิติเวชบนโลกแห่งออนไลน์ภายใต้ Facebook/drcarebear
มีข้อแนะนำมาฝากคุณผู้หญิงว่า “ตามสถิติทั่วโลกแล้ว
โรคอันตรายที่ผู้หญิงควรระวังนั้นมี 5 โรคด้วยกัน คือ โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม กระดูกพรุน โรคซึมเศร้า และโรคภูมิคุ้มกัน Autoimmune ลองมาดูกันว่าแต่ละโรคมีความเสี่ยงจากอะไรและสามารถป้องกันได้อย่างไร”
1.โรคหัวใจ
เป็นสาเหตุการตายของทั้งผู้ชายและผู้หญิงเป็นอันดับต้นๆ ในผู้หญิง โรคหัวใจเป็น
สาเหตุการตายสูงถึง 29% ที่สำคัญคือ
เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรและอาจทำให้ทุพพลภาพได้
หรือทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคหัวใจจะพบในผู้ชายได้มากกว่า แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ได้รับการตรวจรักษา หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยช้ากว่าที่ควร อาการของโรคหัวใจใน
ผู้หญิง อาจจะไม่ใช่แค่อาการเจ็บหน้าอก แต่บางคนมาด้วย
อาการปวดที่บริเวณขากรรไกร ปวดที่บริเวณหัวไหล่ หรือมีคลื่นไส้ อาเจียน
เหนื่อย ซึ่งทำให้ไม่คิดว่าเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้แก่
อายุที่มากขึ้น พันธุกรรม สูบบุหรี่ คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
จากปัจจัยเสี่ยงที่พบ อาจแบ่งออกเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้
และปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรแก้ไขในส่วนที่จัดการได้ เช่น
การออกกำลังกาย การควบคุมนํ้าหนัก งดสูบบุหรี่ ควบคุมระดับไขมันในเลือด
ซึ่งจะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดสมองได้
2.มะเร็งเต้านม
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง และถ้าพิจารณาจากสาเหตุการตายจากมะเร็งในผู้หญิง มะเร็งเต้านมเป็น
สาเหตุการตายอันดับสองรองจากมะเร็งปอด
บางครั้งความวิตกกังวลว่าจะพบมะเร็งเต้านม ทำให้ผู้หญิงหลายๆ
คนไม่กล้าไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ
หรือเมื่อพบว่าเป็นแล้วทำให้มีการตัดสินใจในการเลือกวิธีการรักษาที่อาจจะ
เกินกว่าข้อบ่งชี้ตามมาตรฐาน
หรืออาจจะไม่จำเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมได้แก่ อายุที่มากขึ้น
พันธุกรรม เกือบ 5% ถึง 10% ของมะเร็งเต้านมสัมพันธ์กับความผิดปกติของยีน
ที่รู้จักกันดีคือ ยีนที่มีชื่อ ว่า BRCA1 และ BRCA2 genes
ประวัติในครอบครัวมีผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมถึงแม้ว่า
ในครอบครัวของคุณไม่เคย มีประวัติเรื่องของมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้
หมายความว่าคุณไม่ได้เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น
คุณควรพยายามควบคุมนํ้าหนัก ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
และพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจร่างกาย
เพื่อที่จะเลือกการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมกับคุณ
3.โรคกระดูกพรุน
อาการ
หลังค่อม หลังงอ ปวดหลัง หรือการที่กระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ
เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้หญิงสูงวัย
ซึ่งภาวะนี้สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ยังสาว
เนื่องจากร่างกายจะสร้างมวลกระดูกสะสมไว้ จนกระทั่งอายุประมาณ 30 ปี
และเมื่อกระดูกไม่สามารถสร้างเพิ่มขึ้นได้ การรักษามวลกระดูกที่มีอยู่เป็น
เรื่องที่จะต้องทำต่อเนื่องโดย การรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ คือประมาณ
1,000 - 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอแล้ว
การออกกำลังกาย ชนิดที่ทำให้ร่างกายได้รับนํ้าหนัก เช่นการวิ่ง การเดินเร็ว
ไม่มีคำว่าสายไปในการที่จะดูแลกระดูกให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการแตกหักปัจจัย
เสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศหญิง อายุที่มากขึ้น โครงร่าง
โครงกระดูกที่ค่อนข้างเล็ก
คนเอเชียและคนขาวมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุน
มากกว่าประวัติโรคกระดูกพรุนในครอบครัว
4.โรคซึมเศร้า (Depression)
เป็น
โรคที่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว
ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นว่า ผู้หญิงต้องการสายสัมพันธ์กับคนอื่นๆ
ในชีวิตผู้หญิงต้องการที่พึ่งพิงทางใจ
ซึ่งถ้าไม่มีที่พึ่งพิงหรือคนที่คอยเป็นกำลังใจให้
ก็จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้บางครั้งการเปลี่ยนแปลง ของฮอร์โมน
อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นต่อการเกิดภาวะนี้ โดยเฉพาะหลังคลอด
หรือเมื่อเข้าช่วงวัยหมดประจำเดือนปัจจัย
เสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้แก่ เคยมีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า มีประวัติของปัญหาโรคหัวใจ
เจ็บป่วยเรื้อรังเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้า
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หากิจกรรมต่างๆ ทำ เช่น การทำงาน การเข้าสังคม
การทำงานอาสา เลี้ยงสัตว์ พยายามหาเหตุผลในการที่จะลุกขึ้นทำสิ่งต่างๆ
5. ความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Autoimmune Diseases)
เป็น
กลุ่มของโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ที่ทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย มีโรคในกลุ่มนี้มากกว่า 80 ชนิด เช่น โรค SLE
โรคไทรอยด์บางชนิด เป็นต้น และที่สำคัญคือ 75%
ของผู้ที่เป็นโรคกลุ่มนี้คือผู้หญิง
ซึ่งโรคกลุ่มนี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่เป็นแย่ลง
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคในกลุ่มนี้ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
แต่ปัจจัยในเรื่องของ พันธุกรรม ฮอร์โมน
และสิ่งแวดล้อมอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องได้
และเนื่องจากไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนที่บอกได้
ทำให้โรคในกลุ่มนี้เป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก
สิ่งที่ทำได้คือหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย ควรรีบพบแพทย์ เช่น
การมีผื่นผิดปกติ อาการปวดบวมของข้อ
นํ้าหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการบวม ปัสสาวะผิดปกติไป
ผมร่วง ซึ่งอาการทั้งหมดนี้
เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
ของร่างกายตัวเอง อย่าเพิกเฉยต่ออาการผิดปกติเหล่านี้
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม จะได้ให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรก ท้ายสุด..ยังไงไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือว่าผู้ชายก็ควรจะดูแลสุขภาพตังเองอยู่เสมอเพื่อที่เราจะได้ห่างไกลโรคกันนะจ๊ะ
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น